.
.

โรคตับ มาทำความเข้าใจ ก่อนจะสาย ว่าโรคตับใกล้ตัว กว่าที่คุณคิด

โรคตับ (Liver disease) เกิดจากการที่ตับได้รับบาดเจ็บซ้ำๆ จนทำให้เกิดแผลเป็นที่ตับ หรือเรียกว่า พังผืดที่ตับ หากมีพังผืดที่ตับจำนวนมาก ก็จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของตับลดลงตามจำนวนพังผืดที่มี เพราะพังผืดคือเซลล์ที่ตายแล้ว ใช้การไม่ได้นั่นเอง ตับสำคัญต่อการดำรงชีวิตของเราเป็นอย่างยิ่งหรือเรียกได้ว่า หากตับไม่ทำงานเราก็ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ซึ่งหน้าที่ของตับมีมากมายหลายร้อยอย่าง ส่วนหน้าที่หลักๆ ของตับได้แก่ การแปลงสารอาหารให้เป็นพลังงานหล่อเลี้ยงร่างกาย ขับสารพิษออกจากร่างกาย ผลิตน้ำดีเพื่อย่อยไขมัน เป็นต้น หากรู้เช่นนี้แล้ว ถ้าเปรียบ ตับ เป็น หัวใจดวงที่ 2 ของร่างกายก็คงจะไม่เกินจริง เพราะฉะนั้นเราจึงต้องทำความรู้จักและรู้ทันโรคภัยต่างๆที่สามารถทำร้าย ตับ ของเราได้ เพื่อรักษาสุขภาพตับให้แข็งแรงอยู่ทำหน้าที่สำคัญต่างๆให้กับร่างกายของเราได้อย่างยาวนนานที่สุด

โรคตับ ใกล้ตัว กว่าที่คุณคิด

โรคตับที่พบบ่อยและมีความรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้นั้นมีอะไรบ้าง

โรคตับอักเสบ

โรคตับอักเสบ 

คือภาวะอักเสบที่เกิดบริเวณตับ ซึ่งเกิดจากเซลล์ตับตายหรือเรียกว่า “เซลล์ตับแตก” สิ่งที่สามารถวัดได้ว่าตับอักเสบหรือไม่ คือ การเจาะเลือดเพื่อดูค่าเอนไซม์ตับ เช่น ALT AST GGT เป็นต้น ถ้าพบสูงเกินเกณฑ์มาตรฐานจะถือว่า ตับอักเสบ และภาวะตับอักเสบสามารถเกิดได้ทุกเพศทุกวัย สาเหตุที่พบได้บ่อย มีดังนี้

– ไวรัสตับอักเสบทุกชนิด
– รับประทานอาหารไขมันสูง
– ไขมันพอกตับ
– การดื่มแอลกอฮอล์

ไขมันพอกตับ คือ ภาวะที่ไขมันเข้าไปสะสมในเซลล์ตับ

ไขมันพอกตับ

คือ ภาวะที่ไขมันเข้าไปสะสมในเซลล์ตับ จนทำให้ตับเกิดการอักเสบและกลายเป็นพังผืดได้ในที่สุด ซึ่งหากไขมันเข้าไปสะสมมากกว่า 5-10% ของน้ำหนักตับ จะถือว่าเป็นไขมันพอกตับ
ไขมันพอกตับแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ตามสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค ดังนี้
1. จากการดื่มแอลกอฮอล์ (Alcohol-related Fatty Liver Disease) ในปริมาณที่มากเกินไป จนทำให้เกิดไขมันสะสมในตับ
2. ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ (Non-alcoholic Fatty Liver Disease) แต่เกิดจากพฤติกรรม เช่น ทานอาหารไขมันสูง ของทอด ของหวานเกินพอดี หรือ ขาดการออกกำลังกายให้เพียงพอกับปริมาณอาหารที่ได้รับเข้าสู่ร่างกาย รวมถึงความผิดปกติของระบบเผาผลาญ เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น

โรคตับ โต

โรคตับโต

คือภาวะที่ตับมีขนาดใหญ่กว่าตับปกติ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการ แน่นท้อง อ่อนเพลีย อาเจียน น้ำหนักลด เท้าบวม ขาบวม ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากโรคที่เกี่ยวกับโดยตรง เช่น ไวรัสตับอักเสบ ไขมันพอกตับ รวมถึงโรคที่เกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด และมะเร็ง เป็นต้น

ตับแข็ง

เป็นโรคที่ส่งผลมาจาก การที่เนื้อเยื่อตับถูกทำลายสะสมต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานาน จนเกิดพังผืด ทำให้ความสามารถในการทำงานของตับลดลง อาจรุนแรงถึงขั้นหยุดการทำงานลงได้ หรือที่เรียกว่า ตับวายเฉียบพลัน ความน่ากลัวของโรคตับแข็ง คือ ไม่สามารถรักษาให้ขาดได้ แต่หากเป็นการรักษาแบบประคับประคองเพื่อชะลอการหยุดการทำงานของตับเท่านั้น ตับแข็ง เป็นโรคที่เสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนซึ่งเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้มาก เช่น ภาวะไตล้มเหลว ภาวะเลือดออกอย่างรุนแรง หรือตับวายได้ในที่สุด

มะเร็งตับ

เกิดขึ้นจากความผิดปกติของเซลล์บริเวณตับและพัฒนากลายเป็นเนื้อร้ายในที่สุด หรืออาจเกิดจากการลุกลามของมะเร็งตับบริเวณอื่นมาที่ตับได้เช่นกัน โรคตับทุกโรคที่ได้กล่าวมีสิ่งที่เหมือนกันคือ ระยะแรกมักไม่มีอาการใดๆ จนอาจทำให้ผู้ป่วยไม่ทราบว่าเป็นโรคตับ รู้ตัวอีกอาการของโรคดำเนินมาถึงขั้นรุนแรงเกินเยียว แต่เราสามารถสังเกตสัญญาณเบื้องต้นของโรคตับได้ดังนี้

  • อ่อนเพลีย
  • นอนไม่หลับ หลับไม่สนิท
  • ปวดท้องด้านขวา
  • ท้องอืด แน่นท้อง

โรคตับ เป็นโรคที่เป็นแล้ว ยากต่อการรักษา เพราะ อาการของโรคจะแสดงออกให้ผู้ป่วยทราบว่าเป็นโรคตับ ก็มักลุกลามจนถึงขั้นที่รุนแรงแล้ว และมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้ เพราะฉะนั้นทางที่ดีที่สุด คือ กาป้องกันโดยการหมั่นสังเกตสัญญาณของโรคตับข้างต้นว่าเราเป็นหรือไม่ เพื่อการรักษาที่ทันถ้วงที หรือ อีก 1 ทางเลือกเพื่อสุขภาพสำหรับการป้องกันโรคตับด้วย พรูนัส มูเม่ สารสกัดจากธรรมชาติ ปลอดภัย ไม่มีสารเคมีตกค้าง ผสานเทคโนโลยีชั้นสูงจากเบลเยียม ในรูปแบบอาหารเสริมชนิดเม็ด ทานง่าย คุ้มค่า เพียงวันละ 1 เม็ด เหมาะกับการใช้ชีวิตที่เร่งรีบในสังคมปัจจุบัน หากคุณมีความเสี่ยงหรือมีสัญญาณเตือนจากโรคตับและต้องการป้องกันก่อนเป็นโรคตับร้ายแรง

เราใช้คุกกี้เพื่อประสบการณ์และการให้บริการที่ดีที่สุดในการใช้งานเว็บไซต์แก่ท่าน หากดำเนินการต่อหรือปิดข้อความนี้ลง แสดงว่าท่านได้ยอมรับ นโยบายคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า