.
.

ร้อนจนต้องเปิดแอร์ แต่ ภูมิแพ้อากาศกำเริบ

อากาศบ้านเรามันร้อนซะเหลือเกินจริงๆค่ะ การเปิดแอร์จึงเป็นคำตอบของหลายๆบ้าน แต่สำหรับบ้านไหนที่คุณลูกเป็น ภูมิแพ้อากาศ เปิดแอร์ทีไร มีอาการฟึดฟัดทุกที วันนี้สนิฟคิวจะมาช่วยไขข้อสงสัยว่า อาการเหล่านี้เกิดจากอะไร แล้วคุณแม่ควรจัดการอย่างไรเพื่อให้ลูกของคุณ ห่างไกลจากภูมิแพ้อากาศเมื่อเปิดต้องเปิดแอร์

จมูกของคนทั่วไป

เมื่อเราหายใจรับอากาศเข้าไปสู่ร่างกาย จมูกเปรียบเสมือนป้อมปราการด่านหน้าที่คอยสแกนอุณหภูมิ ควบคุมและเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิให้พอเหมาะก่อนเข้าสู่ร่างกายของเรา (จะว่าไปก็เหมือนทีมพยาบาลที่สนามบินสุวรรณภูมิที่คอยวัดอุณหภูมิเราก่อนเดินทางเข้าประเทศยังไงยังงั้นเลยค่ะ) เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศเย็นเข้าสู่ทางเดินหายใจส่วนล่าง (ได้แก่ หลอดลม และปอด) ด้วยกลไกของจมูกที่จะเพิ่มพื้นที่ผิวของเยื่อบุจมูกเพื่อให้น้ำและความร้อนแก่อากาศที่หายใจเข้าไป ทำให้อากาศให้อุ่นและชื้นขึ้น (warm and humidify air)

จมูกของผู้ป่วยที่เป็นโรคจมูกอักเสบ ภูมิแพ้อากาศ

แต่ในเด็กที่เป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ (Allergic rhinitis) กลไกที่ทำให้อากาศ “อุ่นและชื้น” นี้เสียไป เนื่องจากจมูกมีการอักเสบ มีเมือกเหนียวมาปกคลุม และยิ่งเมื่อเราเปิดแอร์ ลูกน้อยของคุณก็จะหายใจเอาอากาศที่เย็นและแห้งเข้าไปด้วย ทำให้อุณหภูมิของเยื่อบุจมูกลดลงไปอีก (mucosal cooling) และเกิดการกระตุ้นมาสต์เซลล์ (mast cell) ในเยื่อบุผิวจมูกโดยตรง ให้หลั่งสารฮีสทามีน (histamine) และสารเมดิเอเตอร์ (mediators) อื่นๆออกมา ซึ่งสารฮีสทามีนนี้สามารถกระตุ้น

  • เส้นเลือดใต้เยื่อบุผิวจมูก (submucosal blood vessels) ทำให้เส้นเลือดเหล่านี้ขยายตัว มีสารน้ำออกมานอกเส้นเลือด ทำให้เยื่อบุจมูกบวม ลูกของคุณจะมีอาการคัดจมูก
  • เส้นประสาท (nerves) ทำให้ลูกของคุณมีอาการคัน, จาม, แสบ หรือปวดจมูกได้
  • ต่อมสร้างน้ำมูก (secretory glands) ทำให้ลูกของคุณมีน้ำมูกไหลออกมาจากจมูก หรือไหลลงคอกลายเป็นเสมหะได้

หากในเด็กบางรายที่มีโรคหืดร่วมด้วยแล้ว อากาศเย็นอาจเดินทางลงไปถึงทางเดินหายใจส่วนล่างกระตุ้นอาการโรคหืดกำเริบได้มากกว่าปกติ ความผิดปกติของการสัมผัสอากาศเย็นและแห้งดังกล่าว จะเกิดกับเด็กบางกลุ่มที่มีความไวต่ออากาศเย็นและแห้งมากกว่าปกติ (cold, dry air hypersensitivity) แต่จะไม่เกิดกับคนปกติ (cold, dry air non-sensitivity) ซึ่งขณะนี้ยังไม่ทราบกลไกที่แน่ชัด ว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้เยื่อบุจมูกของเด็กมีความไวต่ออากาศที่แห้งและเย็นมากกว่าเด็กทั่วไป แต่เชื่อว่าน่าจะเกิดจากความสามารถของเยื่อบุจมูกในการปรับอากาศให้อุ่นและชื้นของทั้ง 2 กลุ่มไม่เท่ากัน กล่าวคือ เด็กที่มีความไวของจมูกต่ออากาศที่เย็นและแห้งมากกว่าปกติ ไม่สามารถชดเชยการสูญเสียน้ำและความร้อนขณะสัมผัสกับอากาศที่แห้งและเย็น ทำให้เกิดการบาดเจ็บของเยื่อบุจมูก ขณะที่เด็กทั่วไปซึ่งไม่มีความไวต่ออากาศที่เย็นและแห้ง อาจมีน้ำและความร้อนเพียงพอที่จะปรับอากาศให้อุ่นและชื้นขึ้นได้ ขณะสัมผัสกับอากาศที่เย็นและแห้ง ทำให้เยื่อบุจมูกของกลุ่มคนดังกล่าวไม่มีปฏิกิริยาต่ออากาศที่แห้งและเย็น อาการที่กล่าวมาแล้วเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับกลุ่มเด็กอย่างเดียวเท่านั้น แต่ก็สามารถเกิดขึ้นกับกลุ่มผู้ใหญ่ได้เช่นกัน คุณแม่ๆที่ห่วงสุขภาพของคุณลูกๆแล้ว ก็อย่าลืมห่วงสุขภาพของตัวเองด้วยนะคะ แต่อย่าเพิ่งกังวลไปค่ะ เมื่อทุกปัญหามักมีทางออกเสมอ ร้อนก็กลัวแต่ไม่ต้องกลัวแพ้อากาศอีกต่อไป

สนิฟคิวมีเคล็ดลับมาฝากให้ลูกๆของคุณยังสามารถอยู่ในห้องแอร์ได้อย่างสบายใจมากขึ้น

ทำร่างกายให้อบอุ่ยเสี่ยงอากาศที่เย็น

1.ควรล้างทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศอย่างสม่ำเสมอ

อย่างน้อยทุก 6 เดือน ควรปรับอุณหภูมิห้องให้เหมาะสมและไม่เย็นจนเกินไป ซึ่งช่วง อุณหภูมิที่เหมาะสมจะอยู่ที่ประมาณ 25 องศาเซลเซียส เนื่องจากอุณหภูมิที่เย็นมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการคัดจมูก บางครั้งจมูกแห้ง มีเลือดกำเดาออก หรือไอได้

2. หากช่วงนั้นอาการ ภูมิแพ้อากาศ

แย่ลง ควรทำร่างกายของเด็กๆให้อบอุ่นขึ้น ด้วยการห่มผ้า สวมเสื้อกันหนาวแบบบาง ใส่ผ้าพันคอ หรือถุงเท้า ปัดทิศทางแอร์อย่าให้ตกเข้าหน้าโดยตรง เพื่อเลี่ยงกระตุ้นอาการภูมิแพ้กำเริบได้

บำรุงร่างกายให้แข็งแรงพร้อมสู้กับ ภูมิแพ้อากาศ

3. บำรุงร่างกายให้แข็งแรงพร้อมสู้กับโรคภูมิแพ้ได้เสมอ

โดยเลือกอาหารเสริมที่มีโอมิวซิงค์ ช่วยในการดักจับสิ่งแปลกปลอมที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ และลดการหลั่งฮีสตามีนลงได้ ซึ่งสามารถระงับอาการแพ้อากาศได้อย่างรวดเร็วภายใน 15 นาที รวมถึงมีซิงค์ที่เป็นส่วนประกอบในการเสริมภูมิคุ้ณกันให้ลูกของคุณได้รับการปกป้องถึง 2 ระดับอีกด้วย

เพราะปัญหาของลูกน้อยเป็นเรื่องสำคัญสำหรับแม่อย่างเรา อย่าให้ภูมิแพ้เป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตของลูกน้อยของคุณ ดูแลคนที่คุณรักด้วยนะคะ

เราใช้คุกกี้เพื่อประสบการณ์และการให้บริการที่ดีที่สุดในการใช้งานเว็บไซต์แก่ท่าน หากดำเนินการต่อหรือปิดข้อความนี้ลง แสดงว่าท่านได้ยอมรับ นโยบายคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า