.
.

เหนือ Top 5 ยังมี Top 8 ภูมิแพ้อาหาร กลุ่มเสี่ยง!

TOP 8 อาการกลุ่มเสี่ยง ภูมิแพ้อาหาร อาจเสี่ยงถึงชีวิต ปัจจัยที่ส่งเสริมกระตุ้นให้ ลูก แพ้ อาหาร จากอาหารกลุ่มเสี่ยงนี้ ส่วนหนึ่งมาจากคนในครอบครัวมีประวัติโรคภูมิแพ้และหอบหืด

Top 8 อันดับ ของอาหารกลุ่มเสี่ยงที่เด็กแพ้กันมากที่สุด

ภูมิแพ้อาหาร นม

นมวัว (Milk)

หนึ่งในโรคภูมิแพ้ในเด็กที่พบได้บ่อย นมแต่ละชนิดมีส่วนประกอบโครงสร้างทางโปรตีนที่แตกต่างกัน โดยพบว่า ในนมแม่ปราศจากโปรตีนที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ เพราะปราศจากซึ่ง “เบต้าแลคโตกลอบบูลิน (Betalactoglobulin)” แต่ในนมวัวมีโปรตีนที่ทำให้เกิดการแพ้มากกว่า 20 ชนิด และมีปริมาณ “เบต้าแลคโตกลอบบูลิน (Betalactoglobulin)” สูงถึงร้อยละ 41 และยังมีปริมาณ เบต้าเคซีน (Betacasein) และ แอลฟาเอสวันเคซีน (Alpha-S1-Casein) ซึ่งเป็นโปรตีนย่อยยากมากกว่าร้อยละ 30 จึงทำให้เด็กๆมักพบปัญหาการแพ้นมวัวบ่อย รวมไปถึงปัญหาท้องผูกด้วยเช่นกัน ปัญหาเหล่านี้จะค่อยๆดีขึ้นหรืออาจหมดไปเมื่อเด็กโตขึ้นอายุ 3-5 ขวบ จากพัฒนาการและการปรับตัวทางด้านร่างกายก็อาจจะหายแพ้นมวัวไปได้เอง แต่ก็มีเด็กจำนวนมากที่แพ้นมไปจนโตหรือไม่หายเลย โดยพบว่าเด็กที่มีอาการแพ้นมวัวจะเริ่มมีอาการแพ้ปรากฏขึ้นโดยใช้เวลาโดยประมาณ 5-30 นาที อาการที่ปรากฎอาจจะมีอาการบวม มีผื่นคัน เป็นลมพิษ และในบางรายอาจเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง ซึ่งมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ หากลูกของคุณมีอาการแพ้นมวัวและคุณแม่อยู่ในระหว่างการให้นมบุตรนั้น ควรหลีกเลี่ยงการดื่มนมหรือบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมของนมด้วยเช่นกัน เพราะโปรตีนเหล่านี้จะส่งผ่านจากแม่สู่ลูกน้อยของคุณผ่านน้ำนม และอาจทำให้ลูกน้อยของคุณถูกเล่นงานจากการแพ้นมวัวได้

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง : นมวัว นมผง ชีส เนย มาการีน โยเกิร์ต ครีม ไอศกรีม ทุกอย่างที่มีส่วนผสมของนมวัว
เปลี่ยนมาทาน : นมแม่ (ปลอดภัยที่สุด) นมแพะ นมถั่วเหลือง นมสูตรกรดอะมิโน นมจากน้ำนมไก่ นมที่ทำจากโปรตีนย่อยสลาย

ภูมิแพ้อาหาร ไข่

ไข่ (Egg)

ไข่เป็นอาหารอีกชนิดหนึ่งที่เด็กมักมีอาการแพ้กันมากเลยทีเดียว การแพ้ไข่มีกลไกการเกิดเช่นเดียวกับโรคภูมิแพ้อื่นๆ คือ ระบบภูมิคุ้มกันเข้าใจผิดว่า สารบางอย่างในไข่นั้นเป็นอันตรายต่อร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันปล่อยสารฮิสตามีน และสารอื่นๆ ออกมาโดยเด็กอาจแพ้ได้ทั้งไข่ขาวและไข่แดง หรือแพ้ไข่จากทั้งสองส่วนก็เป็นได้ ต่างก็ประกอบไปด้วยโปรตีนที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้ เพียงแต่ว่า การแพ้ไข่ขาวจะพบได้มากกว่า อาการแพ้ไข่อาจปรากฎภายในไม่กี่นาทีถึงไม่กี่ชั่วโมงหลังรับประทานไข่ โดยผู้ที่แพ้จะมีอาการแตกต่างกันไป แสดงออกมาทางระบบร่างกายต่างๆ เช่น ระบบทางเดินหายใจ ระบบผิวหนัง หรือระบบทางเดินอาหาร อาการที่พบได้บ่อย ผื่นขึ้นบริเวณผิวหนัง คัดจมูก อาเจียน ตาบวม ปากบวม ถ่ายเป็นมูกเลือด หรือมีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร ในบางกรณีที่มีอาการแพ้อย่างรุนแรงอาจเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง ซึ่งมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้เช่นกัน ทั้งนี้ ผู้ที่แพ้ไข่อาจแสดงอาการตั้งแต่อยู่ในวัยทารก และส่วนใหญ่จะมีอาการดีขึ้นจนหายเป็นปกติก่อนเข้าสู่วัยรุ่น หรืออาจแพ้ไปจนโตได้เช่นกัน

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง : น้ำสลัดแบบข้น มายองเนส เต้าหู้ไข่ เกี๊ยว คุกกี้ เค้ก บิสกิต มัฟฟิน พุดดิ้ง แพนเค้ก
เปลี่ยนมาทาน : มันฝรั่ง ถั่วเหลือง น้ำนมธัญพืชต่างๆ เช่น นมถั่วเหลือง นมอัลมอนต์ นมพิตาชิโอ นมข้าวกล้อง

ภูมิแพ้อาหาร ข้าวสาลี

ข้าวสาลี (Wheat)

การแพ้แป้งสาลีที่เกิดจากการแพ้โปรตีน (wheat protein) ในแป้งสาลี โดยโปรตีนในแป้งสาลีนั้นมีหลายชนิด เช่น Amylase/Trypsin Inhibitor subunit, Gliadin ซึ่งโปรตีนไกลอะดิน (Gliadin) นั้นเป็นส่วนหนึ่งของโปรตีนกลูเตน (gluten) มีปริมาณร้อยละ 30 ของโปรตีนในแป้งสาลี อันเป็นสาเหตุที่เป็นอันตรายต่อเด็กบางคนที่อาจเกิดจากการรับประทาน สัมผัส หรือการสูดดมแป้งสาลีเข้าไป (แต่ไม่ได้ความว่าเด็กที่แพ้แป้งสาลีทุกคนจะต้องแพ้กลูเตน) เด็กที่แพ้กลูเตนหรือมีภาวะไวต่อกลูเตนผิดปกติ (Gluten Sensitivity) บางคนอาจไม่ได้แพ้แป้งสาลี เพราะกลูเตนชนิดอื่นมีหลายชนิดสามารถพบได้จากแป้งชนิดอื่นๆด้วยเช่นกัน เช่น ข้าวบาร์เลย์ มอลต์ สเปลท์ และข้าวไรย์) ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เด็กเสี่ยงต่อการแพ้แป้งสาลี ได้แก่ พันธุกรรม รวมไปถึงปัจจัยทางด้านอายุ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของเด็กเล็กยังไม่แข็งแรงสมบูรณ์เพื่อป้องกันสิ่งแปลกปลอมต่างๆ จึงพบอามากในเด็กเล็ก และอาจหายได้เองก่อนอายุ 10 ขวบ แป้งสาลีนับจึงนับเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่หลีกเลี่ยงยากที่สุด เพราะแป้งสาลีมักเป็นองค์ประกอบอยู่ในอาหารแทบทุกชนิด แต่ในปัจจุบันพบได้เยอะขึ้นในกลุ่มของผู้ใหญ่ด้วย ซึ่งเคยทานแป้งสาลีมาโดยตลอดแล้วอยู่ๆกลับมีปฏิกิริยาภูมิต่อต้านตัวแป้งสาลี ซึ่งนำมาสู่ภาวะแพ้อย่างรุนแรง (Anaphylaxis) ได้ ถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว แต่หากลูกของคุณไม่ได้มีอากา แพ้เหล่านี้ ที่จริงแล้วกลูเตนก็อยู่ในกลุ่มธัญพืชที่มีคุณค่าทางสารอาหาร การอดมากเกินไปก็อาจส่งผลเสียทำให้ร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็นได้ คุณแม่จึงต้องคอยหมั่นสังเกตเพื่อหาจุดสมดุลให้ลูกของคุณจึงจะดีที่สุด

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง : แป้งทอด อาหารทอด ซุปข้น ปูอัด ไส้กรอก น้ำสลัด ซีอิ๊ว ซอสปรุงรสต่างๆ พาสต้า พิซซ่า มันฝรั่งทอดกรอบ ขนมถุงๆ ลูกอมบางชนิด
เปลี่ยนมาทาน : ข้าว (Rice) ข้าวโพด ควินัว แป้งอัลมอนต์ แป้งมะพร้าว เส้นก๋วยเตี๋ยวที่ทำจากข้าว อาหารที่ไม่ผ่านการแปรรูป เมล็ดแฟลกซ์ ธัญพืชต่างๆ

ภูมิแพ้อาหาร ถั่วลิสง

ถั่วลิสง (Peanuts)

ถั่วลิสงคือถั่วอีกประเภทที่ไม่อยู่ในกลุ่มถั่วเปลือกแข็ง (Tree Nuts) เพราะเป็นถั่วชนิดที่ “เติบโตอยู่ใต้ดิน” ใครจะไปคิดว่าถั่วลิสงเม็ดเล็ก ๆ จะทำให้คนเสียชีวิตได้ ในประเทศไทยอาจจะไม่มีสถิติตัวเลขการเสียชีวิตที่แน่ชัด ต่างจากประเทศสหรัฐอเมริกา มีรายงานการเสียชีวิตจากการแพ้ถั่วลิสงมากกว่า 100 คนต่อปี ด้วยเหตุนี้การแพ้ถั่วลิสงจึงเป็นสาเหตุสำคัญอันดับหนึ่งของการเสียชีวิตจากการแพ้อาหารของอเมริกา นับว่าเป็นตัวเลขไม่น้อยสำหรับอาหารที่เป็นประโยชน์สำหรับใครหลายคน แต่ก็สามารถคร่าชีวิตบางคนได้ในเวลาเดียวกัน โดยจากงานวิจัยชี้ให้เห็นว่า อาการจากการแพ้ถั่วลิสงมีอาการรุนแรงที่สุดเมื่อเทียบกับการแพ้อาหารชนิดอื่น แม้อาการแพ้ถั่วในเด็กพบได้ไม่มากนักโดยเฉพาะในประเทศไทย แต่ด้วยอาการที่แพ้รุนแรงกว่าและเฉียบพลันอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ หมอจึงแนะนำให้มี Epi-pen หรือ ปากกาที่มีอะดรีนาลีน (Adrenaline) ติดตัวไว้ตลอด เมื่อมีอาการแพ้ปุ๊บ จะได้ฉีดเข้าร่างกายได้เลยทันที เพื่อลดอาการแพ้หรือความเสี่ยงที่จะเสียชีวิต และควรส่งตัวถึงมือแพทย์อย่างเร่งด่วน อัตราการแพ้ถั่วลิสงในเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายมีอัตราพอ ๆ กัน พบได้ตั้งแต่อายุ 2-3 ขวบขึ้นไป เมื่อเกิดอาการแพ้ครั้งหนึ่งมักจะไม่หายและมักจะแพ้ไปตลอดชีวิต ซึ่งถั่วลิสงที่ผ่านการอบ (roast) จะทำให้เกิดการแพ้ได้มากกว่าถั่วลิสงต้ม หรือ ทอด

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง : แกงมัสมั่น ส้มตำ เมี่ยงคำ เนยถั่ว น้ำจิ้มของทอด น้ำจิ้มหมูสะเต๊ะ ข้าวเกรียบปากหม้อ ผัดไทย ขนมเทียน ก๋วยเตี๋ยวต้มยำ
เปลี่ยนมาทาน : เมล็ดแตงโม เมล็ดทานตะวัน ถั่วฝักอ่อน (Beans) เช่น ถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วดำ ถั่วลันเตา

ภูมิแพ้อาหาร ถั่วเปลือกแข็ง

ถั่วเปลือกแข็ง (Tree Nuts)

Tree Nuts ส่วนใหญ่จะเป็นถั่วเปลือกแข็ง ฝรั่งเลยเรียกว่า “Nuts” เพราะมันอยู่ในเปลือกนี่เอง แต่ก็จะมียกเว้นบางชนิดที่เปลือกไม่แข็ง เช่น Almond หรือถั่วเปลือกแข็งแต่ไม่มีคำว่า “Nuts” ก็เช่น Pistachio

ถั่วมีหลายประเภทมากๆ แต่ถั่วเปลือกแข็งมักเป็นถั่วที่ “เติบโตบนดิน” จากพืชยืนต้นหรือที่เรียกว่า “Nuts” ซึ่งสำหรับเด็กบางคนมีอาการแพ้ถั่วเปลือกแข็งหลังจากรับประทานเข้าไป โดยต้องทำความเข้าใจก่อนว่า เด็กที่แพ้ถั่วเปลืองแข็งไม่ได้หมายความว่าจะแพ้ถั่วตระกูลนี้ทุกชนิด มีความเป็นไปได้ที่เด็กบางคนแพ้ฮาเซลนัทแต่อาจจะไม่ได้แพ้อัลมอนต์ อาจด้วยเนื่องมาจากโครงสร้างทางโปรตีนที่มีความแตกต่างแต่ใกล้เคียงกัน ดังนั้นเมื่อแพทย์พบว่าลูกของคุณแพ้ถั่วจำพวกถั่วเปลือกแข็ง จึงอาจสั่งงดการบริโภคถั่วจำพวกนี้ทุกประเภทเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดอันตรายต่อลูกของคุณไว้ก่อน โดยพบว่าถั่วเปลืองแข็งที่กระตุ้นสารก่อภูมิแพ้มี 9 ชนิด แต่ยังมีอีกหลายชนิดมากๆที่อาจเป็นตัวการสำคัญให้ลูกคุณแพ้ถั่วเช่นกัน เพียงแต่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากนักในบ้านเรา ได้แก่

  • อัลมอนต์ (almond)
  • แมคคาดาเมีย (macadamia nut)
  • ฮาเซลนัท (hazelnut)
  • มะม่วงหิมพานต์ (cashew nut)
  • พิสตาชิโอ (pistachio)
  • เกาลัด (chestnut)
  • วอลนัท (walnut)
  • ถั่วบราซิล (Brazil nut)
  • พีแคน (pecans)

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง : ถั่วที่กล่าวไปแล้วข้างต้น รวมถึงอาหารที่มีส่วนผสมของถั่วเช่น เนยถั่ว หรือ ซอส/น้ำจิ้มที่ผสมถั่ว
เปลี่ยนมาทาน : เมล็ดแตงโม เมล็ดทานตะวัน ผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว ถั่วฝักอ่อน (Beans) เช่น ถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วดำ ถั่วลันเตา ซึ่งเป็นคนละวงศ์กับถั่วเปลือกแข็ง (Tree Nuts)

ภูมิแพ้อาหาร ปลา

ปลา (Fish)

การแพ้ปลากับแพ้อาหารทะเลแยกส่วนกัน เพราะปลาจัดอยู่ในสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง เด็กไทยจำนวนไม่มากที่มีอาการแพ้ปลา เเละบางคนก็แพ้เพียงบางสายพันธุ์ เช่น ปลาทะเล ปลาน้ำกร่อย หรือปลาน้ำจืดเท่านั้น (แต่หากมีอาการแพ้ปลานิลก็ไม่ควรทานปลาทับทิม เพราะผสมสายพันธุ์มาจากปลานิล)

  • ตัวอย่างปลาทะเล ปลาทู ปลาแซลมอน ปลาอินทรี ปลาเก๋า ปลากะพง ปลาทราย ปลาน้ำดอกไม้ ปลาสำลี ปลาโอ ปลาหิมะ ปลาหางเหลือง ปลากระบอก ปลาดอรี่(Zenopsis conchifera)
  • ตัวอย่างปลาน้ำกร่อย ปลาทับทิม(มีพันธุ์ในน้ำจืดด้วย)
  • ตัวอย่างปลาน้ำจืด ปลาดอรี่(สวาย) ปลากราย ปลาช่อน ปลานิล ปลาดุก ปลาสลิด ปลาเนื้ออ่อน ปลาแรด

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง : ลูกชิ้นปลา ขนมปลาอบเส้น หนังปลาทอดกลอบ กุนเชียงปลา ก๋วยเตี๋ยวปลา
เปลี่ยนมาทาน : ไก่ หมู เนื้อวัว

ภูมิแพ้อาหาร ถั่วเหลือง

ถั่วเหลือง (Soybeans)

ด้วยความที่ถั่วเหลืองหาทานได้ง่าย ราคาไม่ได้สูงมาก แถมยังเต็มไปด้วยคุณประโยชน์ต่างๆมากมาย จึงเป็นหนึ่งในอาหารที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเลยหากไม่อยากให้ลูกน้อยแพ้ถั่วเหลือง ซึ่งวัยที่แพ้ถั่วเหลือง ส่วนมากจะพบในเด็กที่เป็นทารก สูงสุดเมื่ออายุ 2 ปี และในบางรายอาจหายไปเองเมื่อโตขึ้นพบว่าจะเริ่มหายจากอาการแพ้ร้อยละ 45 เมื่ออายุ 6 ปี

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยังพบว่าผู้ป่วยที่แพ้นมวัวมักจะแพ้นมถั่วเหลืองร่วมด้วยร้อยละ 15-30 ดังนั้นคุณแม่ที่มีลูกน้อยที่แพ้นมวัวอยู่แล้ว อาจจะต้องสังเกตเพิ่มเติม เป็นระยะๆด้วยว่าลูกน้อยมีอาการแพ้ถั่วเหลืองร่วมด้วยหรือไม่ ดังนั้นขอให้ระมัดระวังการรับประทานนมถั่วเหลือง น้ำเต้าหู้ เต้าหู้ ซีอิ๊ว อาหารที่ปรุงรสด้วยซีอิ๊ว ซอสปรุงรสต่างๆ ราดหน้าใส่เต้าเจี้ยว ฮ่อยจ๊อที่ห่อด้วยฟองเต้าหู้ ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูปสำหรับทำอาหารเจ เช่น และอาหารที่มีแป้งสาลีเป็นส่วนผสม โดยอาการแพ้ถั่วเหลืองพบได้ในทุกวัย แต่มักพบมากในทารกและเด็กเล็ก

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง : น้ำเต้าหู้ ซอสถั่วเหลือง เต้าเจี้ยว มิโซะ น้ำมันถั่วเหลือง เต้าหู้โปรตีนเกษตร น้ำจิ้มข้าวมันไก่
เปลี่ยนมาทาน : น้ำมันดอกทานตะวัน นมอัลมอนต์ ผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว

ภูมิแพ้อาหาร สัตว์น้ำ

สัตว์น้ำที่มีเปลือก (Shellfish)

หมายถึง สัตว์น้ำที่มีเปลือกหุ้มและหอยชนิดต่างๆ กุ้ง กั้ง ปู หอย แต่มีหลายคนที่มีอาการแพ้อาหารทะเลโดยเฉพาะการแพ้กุ้งซึ่งเป็นอาหารทะเลที่ค่อนข้างพบบ่อยมากกว่าอาหารทะเลชนิดอื่น เนื่องจากในกุ้งมีสารก่อภูมิแพ้ คือ โปรตีนฮีโมไซยานินสารโปรตีนลิพิด บายดิง โปรตีน แอลฟาแอกตินิน อย่างไรก็ตามสำหรับบางกรณีอาจเป็นการแพ้สัตว์ที่มีเปลือกแข็งซึ่งมีสารไคตินเป็นองค์ประกอบของเปลือก (สารก่อภูมิแพ้) เช่น กั้งและปูชนิดต่างๆ เมื่อกินเข้าไปพร้อมๆกับกุ้ง อาจจะทำให้เราเข้าใจว่าเราแพ้กุ้ง ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่ ด้วยสารก่อภูมิแพ้ ที่อยู่ในอาหารทะเลนั้นมีหลายชนิด ซึ่งแต่ละคนที่มีอาการแพ้อาหารทะเล อาจจะแพ้แตกต่างกัน แสดงอาการแบบเฉียบพลันภายใน 2 ชั่วโมง ภายหลังการรับประทานอาหาร เช่น

  • แพ้โปรตีนลิพิด บายดิง (lipid binding protein) และโปรตีน แอลฟาแอกตินิน (alpha actinin protein) พบมากในกุ้งกุลาดำที่เป็นกุ้งทะเล
  • แพ้โปรตีนฮีโมไซยานินซึ่งพบมากในกุ้งก้ามกราม ซึ่งเป็นกุ้งน้ำจืด
  • แพ้สารไคติน (Chitin) ซึ่งเป็นองค์ประกอบของสัตว์เปลือกแข็ง เช่น กั้ง และ ปูชนิดต่าง ๆ
  • แพ้โทรโปไมโอซิน (Tropomyosin) ซึ่งเป็นโปรตีนที่พบในสัตว์ทะเลเปลือกแข็ง หรือมีกระดอง เช่น หอย กั้ง ปู

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง : หอยชนิดต่างๆ กุ้ง กั้ง ปู หอย
เปลี่ยนมาทาน : ปลา ไก่ หมู เนื้อวัว

คุณแม่รู้คุณลูกเซฟ

โดยอาการแพ้อาหารกลุ่มเสี่ยงในแต่ละกลุ่มอาจแสดงอาการที่คล้ายหรือแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ชนิดของอาหารที่ทานเข้าไปรวมถึงสภาพร่างกายของแต่เด็กแต่ละคน ซึ่งโดยปกติมักแสดงอาการแพ้ โดยแบ่งออกเป็นอาการดังนี้

  1. อาการทางผิวหนัง เช่น มีผื่นเล็กๆ นูน แดง คัน บวม คล้ายลมพิษ ซึ่งอาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังรับประทานอาหาร หรือมีผื่นอีกแดง คัน แห้ง ลอก ซึ่งในเด็กเล็กมักมีจะมีผื่นที่แก้ม ข้อศอก แต่เมื่อโตขึ้นจะมีผื่นที่ข้อพับ ซึ่งจะเป็นภายหลังรับประทานอาหารแล้วหลายวัน
  2. อาการระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว ปวดท้องแบบบิด
  3. อาการระบบทางหายใจ เช่น มีน้ำมูก คัดจมูก จาม หายใจไม่สะดวก

โดยข้อควรระวังคือ หากเกิดการแพ้อย่างรุนแรง เด็กมักจะมีอาการหลายระบบ ทั้งอาการทางผิวหนัง ทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร รวมถึงระบบการไหลเวียนโลหิต ซึ่งหากปฏิกิริยานั้นเกิดขึ้นรวดเร็ว รุนแรง อาจมีผลทำให้เด็กช็อก หมดสติ เขียว และเสียชีวิตได้

ดังนั้น หนทางของการป้องกันการเกิดภูมิแพ้ที่ดีที่สุดคือ การหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ที่อาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อยของคุณ ด้วยการงดไม่ให้ลูกของคุณทานอาหารที่แพ้ ลดการสัมผัส สูดดมโดยไม่จำเป็น รวมถึงการสร้างภูมิกันที่ดีให้กับลูกน้อยของคุณ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อเสริมภูมิต้านทาน ด้วยวิวัฒนาการในยุคปัจจุบัน ทำให้การดูแลถูกยกระดับไปอีกขั้น การหาอาหารเสริมที่ช่วยดูแลภูมิแพ้ อาจจะเป็นอาหารเสริมที่มี Omuzinc ซึ่งช่วยดักจับสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่อาจก่อภูมิแพ้ หรือเป็นอันตรายต่อลูกน้อยของคุณ ทำให้การปกป้องดูแลลูกน้อยของคุณจากภูมิแพ้เป็นเรื่องง่าย ไม่ยุ่งยากกับคุณแม่อีกต่อไป เพราะเราไม่สามารถอยู่กับเค้าได้ตลอดเวลา เราจึงต้องปกป้องเค้าให้ดีที่สุด

ขอบคุณแหล่งที่มา

http://www.healthcentral.com/a…/food-allergy-225110-5_2.html
http://goo.gl/8I0LvU

เราใช้คุกกี้เพื่อประสบการณ์และการให้บริการที่ดีที่สุดในการใช้งานเว็บไซต์แก่ท่าน หากดำเนินการต่อหรือปิดข้อความนี้ลง แสดงว่าท่านได้ยอมรับ นโยบายคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
เราใช้คุกกี้เพื่อประสบการณ์และการให้บริการที่ดีที่สุดในการใช้งานเว็บไซต์แก่ท่าน หากดำเนินการต่อหรือปิดข้อความนี้ลง แสดงว่าท่านได้ยอมรับ