.
.

ปวดท้อง ปวดท้องข้างขวา ปวดแบบไหน เป็นสัญญาณอันตรายจากตับ

ปวดท้อง ปวดท้องข้างขวา แน่นท้อง ท้องอืด อาการปวดเหล่านี้ที่เวลาหลายคนเป็นอยู่ แค่กินยารักษาตามอาการ พอหายก็ไม่ใส่ใจ แต่จะมั่นใจได้อย่างไรว่าปวดท้องที่เจออยู่นี้ เป็นแค่อาการทั่วไป ไม่อันตรายต่อชีวิต เพราะหากคุณดูแลผิดจุด ก็อาจเป็นปัญหาต่อสุขภาพได้ไม่น้อยเลยทีเดียว

ปวดท้องข้างขวา อาการบอกโรค

ปวดท้องข้างขวา อาการบอกโรค

อาการปวดท้องข้างขวา แม้ว่าเป็นอาการปวดที่ค่อนข้างจะเฉพาะจุด แต่ก็สามารถบอกโรคได้หลายอย่างด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น

  • ปวดท้องขวาล่าง ปวดท้องแบบเสียดแน่น ตั้งแต่สะดือ ไปจนถึงท้องน้อยด้านขวา กดแล้วเจ็บ หรือเจอก้อนเนื้อที่นูนออกมา ห้ามปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาจเป็นอาการของไส้ติ่งอักเสบ
  • ปวดท้องด้านขวาล่างแบบมวนๆ เหมือนกับว่ามีลมอยู่ในท้อง อาจเกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของลำไส้ หรือเป็นสัญญาณที่บอกว่า คุณกำลังเจอกับปัญหาลำไส้แปรปรวน
  • ปวดบริเวณบั้นเอวขวา เป็นตำแหน่งที่ตรงกับไตพอดี ปวดแบบแปล๊บๆ บวกกับมีไข้ หนาวสั่น และปัสสาวะสีขุ่น อาจเกิดจากกรวยไตอักเสบ
  • ปวดท้องขวาตรงกลาง มีความรู้สึกปวดมวนๆ ร่วมกับขับถ่ายผิดปกติ หรือถ่ายเป็นเลือด นั่นอาจเป็นอาการของลำไส้ใหญ่อักเสบได้
  • ปวดท้องด้านขวาบน แน่นท้อง คลื่นไส้ เมื่อกดลงบริเวณที่มีอาการปวด อาจพบก้อนเนื้อแข็ง และอาจมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ตามมา อาจเป็นปัญหาจากนิ่วในถุงน้ำดี
  • ปวดท้องขวาด้านบน บริเวณชายโครง ลามไปปวดถึงด้านหลัง จุกท้อง แน่นท้อง คล้ายอาหารไม่ย่อย ในบางคนอาจกดแล้วรู้สึกว่าเจอก้อน อาจเป็นอาการจากโรคตับ ทั้งไขมันพอกตับ ตับอักเสบ และตับแข็งได้

ฉะนั้นอย่าลืมลองสังเกตอาการตัวเองให้ดี ว่าอาการปวดที่มีอยู่เป็นอย่างไร เพื่อจะได้รักษาได้อย่างทันท่วงที เพราะไม่อย่างนั้น อาการปวดที่คิดว่าเบาๆ อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายอย่าง ‘มะเร็ง’ ก็เป็นได้

ปวดท้องข้างขวา สัญญาณเตือนจากโรคตับ

ปวดท้องข้างขวา สัญญาณเตือนจากโรคตับ

ตับ ถือเป็นอวัยวะที่ใหญ่อันดับต้นๆของร่างกาย จุดที่อยู่ของตับคือบริเวณด้านขวา ใต้ชายโครง หากคุณมีอาการปวด จุก แน่น หรืออาจปวดลามไปแผ่นหลัง ยิ่งกดตรงที่ปวดแล้วเจอก้อนแข็งๆ ก็บอกได้เลยว่า นั่นอาจเป็นสัญญาณว่าตับกำลังทำงานผิดปกติอยู่ เพราะโรคตับนับว่าเป็นภัยเงียบ ไม่ได้มีอาการมาเตือนรุนแรงให้รู้ตัวก่อนว่ากำลังเจอกับปัญหาใหญ่ นอกจากอาการปวดท้องข้างขวาแล้ว ก็สามารถยังมีอาการอื่นๆร่วมด้วยได้ ทั้ง อ่อนเพลียระหว่างวัน นอนไม่หลับไม่สนิท กินไม่ลง หรือน้ำหนักลด ซึ่งหากคนที่ไม่ได้ใส่ใจ ก็อาจจะมองว่าอาการเหล่านี้เป็นอาการทั่วไปไม่ได้เกี่ยวกับตับ แต่หารู้ไม่ ว่านั่นคืออาการของไขมันพอกตับ ตับอักเสบนั่นเอง แต่ส่วนมากแล้วคนที่พึ่งเริ่มมีอาการเหล่านี้ มักจะไม่รู้ตัวว่าเจอกับปัญหาตับอยู่ ก็มักจะปล่อยให้อาการดำเนินต่อไป คิดว่ารักษาเมื่อไหร่ก็ยังทัน ระวังไว้นะครับ เพราะนั่นอาจเป็นช่วงเวลาที่โรคตับพัฒนาตัวเองเป็นโรคร้าย แบบที่คุณก็คิดไม่ถึงเลยทีเดียว

ปวดท้องข้างขวา จุดเริ่มต้นของมะเร็งตับ

ปวดท้องข้างขวา จุดเริ่มต้นของมะเร็งตับ

อาการปวดท้องข้างขวา และอื่นๆที่กล่าวมาข้างต้นนั้น อาจเป็นจุดเริ่มต้นของโรคตับจนนำไปสู่มะเร็งตับได้ โดยแบ่งประเภทของโรคตับได้ดังต่อไปนี้

  • ไขมันพอกตับ โรคที่ดูไม่ร้ายแรง แต่ไม่ดูแลเนิ่นๆเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดมะเร็งได้ ซึ่งโรคไขมันพอกตับนี้ แม้ไม่ได้มีภาวะน้ำหนักเกิน หรือโรคอ้วน ก็มีสิทธิ์เป็นได้เช่นกัน
  • ตับอักเสบ เป็นโรคที่พัฒนามาจากไขมันพอกตับ หรือเกิดจากเชื้อไวรัสที่บังเอิญไปรับมาก็เป็นได้ ไม่ว่าจะไวรัสตับอักเสบA ไวรัสตับอักเสบB ไวรัสตับอักเสบC ที่คนส่วนมากเป็นกันเยอะ ซึ่งเป็นโรคที่สามารถผันตัวเป็นมะเร็งตับได้อย่างรวดเร็ว
  • พังผืดในตับ เกิดจากการที่ตับโดนทำร้ายจากภาวะต่างๆ ทั้ง ไขมันพอกตับ ตับอักเสบเรื้อรัง มาเป็นระยะเวลานาน จนทำให้ตับเกิดการสร้างพังผืดตามมา หากปล่อยให้โรคดำเนินไป ทำให้เกิดภาวะตับแข็งตามมาได้
  • ตับแข็ง เกิดได้จากภาวะข้างต้นที่ถูกสะสมมาเรื่อยๆ จากตับที่มีพังผืดเกาะ ก็ค่อยๆแปลสภาพเป็นตับแข็ง ซึ่งค่อนข้างยากต่อการฟื้นฟูให้กลับมาเป็นเหมือนเดิม หากไม่ได้รับการดูแล สามารถลุกลามไปถึงมะเร็งตับได้

ภาวะของโรคตับเหล่านี้นั่นเอง ที่เป็นระยะการเดินทางนำมาสู่มะเร็งตับ ซึ่งเป็นภัยเงียบที่น่ากลัวอย่างหนึ่ง เพราะถึงคุณจะเจอกับภาวะโรคตับมากมาย แต่สุดท้ายแล้วอาการที่แสดงออกมา ในระยะแรกก็ไม่ได้ร้ายแรงจนทำให้รู้สึกตัวว่าอาจเจอกับมะเร็งตับได้ ยิ่งไปกว่านั้น บางคนอาจเจอโรคมะเร็งตับจู่โจมแบบรวดเร็วโดยไม่ผ่านภาวะต่างๆลยก็เป็นได้เช่นกัน

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคตับ

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคตับ

เมื่อได้รู้จักกันบ้างแล้วว่าภาวะโรคตับมีอะไรบ้าง ก็คงเริ่มสงสัยกันไม่น้อย ว่าสาเหตุที่จะทำให้เราเป็นโรคตับนั้น จะเกิดมาจากอะไร มาดูกันดีกว่า ว่าสาเหตุอะไรที่ทำให้เสี่ยงเป็นโรคตับ จะได้รับมือได้อย่างทันท่วงที

  • ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำเมื่อดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำในปริมาณมากเป็นระยะเวลานาน จะเสี่ยงเป็นโรคตับมากกว่าใคร เพราะจะทำให้มีไขมันสะสมในตับ จากนั้นตับจะเกิดการอักเสบ เกิดพังผืดในตับ และเกิดภาวะตับแข็งตามมาในไม่ช้า
  • การรับประทานยาและอาหารเสริมหรือยาสมุนไพรเป็นเวลานาน โดยเฉพาะอาหารเสริมที่ไม่ได้รับการรับรองว่าปลอดภัย เมื่อตับได้รับเข้าทุกวันก็จะไม่สามารถทำลายได้ทัน เหลือเป็นส่วนเกิน จนกลายเป็นสารพิษที่ทำลายตับ นอกจากจะเสี่ยงเป็นตับอักเสบแล้ว อาจทำให้เกิดภาวะอันตรายอย่างตับวายเฉียบพลันได้
  • ทานอาหารปิ้งย่าง หรืออาหารที่มีไขมันสูงไม่ว่าจะของทอด ของมัน และอาหารที่มีไขมันสูง อย่าง นม เนย กะทิ ชีส จะทำให้ร่างกายมีไขมันส่วนเกินมากเกินไป นอกจากที่สะสมตามอวัยวะต่างๆแล้ว อาจทำให้เกิดการสะสมที่ตับจนนำไปสู่โรคไขมันพอกตับได้
  • บริโภคน้ำตาล หรือของหวานมากจนเกินไปโดยเฉพาะน้ำตาลฟรุกโตสที่จะเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมอยู่ในตับ ยิ่งมีระดับน้ำตาลที่สูง ก็ยิ่งเสี่ยงเป็นโรคไขมันพอกตับได้ ซึ่งคนผอมก็อย่าชะล่าใจไป เพราะมีโอกาสเป็นได้สูงเช่นกัน
  • นอนดึก พักผ่อนไม่เพียงพอ นอกจากจะทำให้ตับไม่ได้ฟื้นฟูตัวเองแล้ว ยังทำให้ภูมิต้านทานร่างกายต่ำลง และทำให้การฮอร์โมนในร่างกายเสียสมดุล นำมาซึ่งโรคไขมันพอกตับได้

จะเห็นได้ว่าสาเหตุในการเกิดโรคตับนั้น ส่วนมากล้วนเกิดจากพฤติกรรมของเราทั้งสิ้น ซึ่งบางพฤติกรรมก็เป็นสิ่งที่เราทำประจำโดยไม่รู้ตัว ว่าอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ตับเกิดปัญหาได้ เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว หากยังไม่ปรับพฤติกรรมที่ทำเป็นประจำ ก็อาจนำไปสู่โรคตับอักเสบ ไขมันพอกตับ ตับแข็ง รวมไปถึงมะเร็งตับอีกเช่นกัน

วิธีดูแลรักษาอาการปวดท้องข้างขวาจากโรคตับ

วิธีดูแลรักษาอาการปวดท้องข้างขวาจากโรคตับ

เมื่อเรารู้สาเหตุของอาการปวดท้องข้างขวาที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ไม่ควรที่จะปล่อยอาการให้ดำเนินต่อไป หากไม่อยากให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมา ก็ต้องมาหาวิธีในการรักษาตัวเองเบื้องต้นกัน ซึ่งวิธีดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคตับนั้น บอกเลยว่าไม่ยากเกินความสามารถแน่นอน มาดูกันว่าจะมีวิธีใดบ้าง

  • งดดื่มแอลกอฮอล์ ก็ช่วยไม่ให้มีไขมันส่วนเกินไปสะสมอยู่ในเซลล์ตับ ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเกิดภาวะไขมันพอกตับได้
  • เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ อย่างธัญพืช ผลไม้ เช่น ข้าวไรซ์เบอรี่ กีวี่ ที่ช่วยลดการอักเสบของตับ และดูดซึมไขมันได้
  • เลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง นอกจากจะช่วยเลี่ยงโรคตับแล้ว ยังลดการเกิดโรคต่างๆ อย่างไขมันในเลือด หรือโรคหัวใจได้
  • ใช้ช้อนกลางเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ เพราะสามารถติดต่อกันผ่านน้ำลาย อย่างไวรัสตับอักเสบเอได้
  • รับประทานอาหารเสริมอย่างรอบคอบ ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีแพทย์รับรอง ว่าปลอดภัยต่อร่างกาย และมีมาตรฐานที่น่าเชื่อถือ
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพราะการออกกำลังกายอย่าง การปั่นจักรยาน การวิ่ง จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคตับได้
  • ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อเป็นการเช็คให้มั่นใจ ว่าไม่มีความผิดปกติอะไรกับตับของคุณ
  • การฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอและบี เพราะไวรัสตับอักเสบ เป็นต้นเหตุหลักที่ทำให้เป็นมะเร็งตับได้มากกว่าคนทั่วไปถึง 30%
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ช่วงเวลาการนอนหลับจะ เป็นช่วงเวลาที่ตับได้ฟื้นฟูตัวเองอย่างเต็มที่

เห็นไหมครับ ว่าวิธีที่ทำให้เราห่างไกลจากโรคตับนั้น ไม่ได้ยากอย่างที่คิดเลย เพียงแค่ค่อยๆปรับพฤติกรรม และหมั่นทำเป็นประจำ ก็จะช่วยให้คุณบอกลาอาการปวดท้องข้างขวา อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ และอาการอื่นๆ จากโรคตับได้ และยังช่วยเลี่ยงไม่ให้เกิดโรคร้ายอย่างมะเร็งได้ด้วยนั่นเอง

สรุป ปวดท้องข้างขวาอย่านิ่งนอนใจ

อย่าลืมสังเกต อาการปวดท้องด้านขวาที่เป็นอยู่ เพราะอาจเกิดจากตับกำลังมีปัญหาได้ รีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อพาตัวเองให้ออกห่างจากโรคไขมันพอกตับ ตับอักเสบ ตับแข็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มะเร็งตับ นอกจากนี้ ยังสามารถเลือกดูแลสุขภาพโดยองค์รรวม และสุขภาพตับ ด้วยอาหารเสริมที่ได้คุณภาพ อย่าง เฮฟฟีก้า นวัตกรรมอาหารเสริมบำรุงตับจากเบลเยียม ได้รับการพิสูจน์ทางการแพทย์ และทดลองในกลุ่มผู้ใช้จริง ว่าได้ผลลัพธ์อันทรงประสิทธิภาพ ช่วยแก้ปัญหาสุขภาพตับถึงระดับเซลล์ จากผลการศึกษาวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ในระดับสากล สารสกัดธรรมชาติ พรูนัสมูเม่ สามารถช่วยฟื้นฟูและบำรุงตับได้จริง ทั้งลดการอักเสบของตับ ลดไขมันพอกตับ และยังช่วยให้ตับของคุณห่างไกลจากมะเร็งอีกด้วย เพียงวันละ 1 เม็ด ก็มีประสิทธิภาพที่เพียงพอต่อการดูแลอวัยวะชิ้นสำคัญนี้ เพื่อสุขภาพองค์รวมที่ดีของตัวคุณเอง

เราใช้คุกกี้เพื่อประสบการณ์และการให้บริการที่ดีที่สุดในการใช้งานเว็บไซต์แก่ท่าน หากดำเนินการต่อหรือปิดข้อความนี้ลง แสดงว่าท่านได้ยอมรับ นโยบายคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
เราใช้คุกกี้เพื่อประสบการณ์และการให้บริการที่ดีที่สุดในการใช้งานเว็บไซต์แก่ท่าน หากดำเนินการต่อหรือปิดข้อความนี้ลง แสดงว่าท่านได้ยอมรับ