.
.

ระวังภัย… โรคหอบหืด

จากข้อมูลสถิติมีการคาดการณ์ว่าจะมีผู้ป่วย โรคหอบหืด และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังทั่วโลกเพิ่มมากขึ้น เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล และมลพิษทางอากาศต่างๆ ทั้งฝุ่นละออง และควันจากมลภาวะทางจราจรที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี รวมไปถึงการดำเนินชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนแปลงไป

จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) จำนวนผู้ป่วยทั่วโลกอาจสูงถึง 325 ล้านคน และจำนวนผู้ป่วยที่เสียชีวิตส่วนมากมาจากประเทศที่มีรายได้น้อย ซึ่งในหลายกรณีสามารถป้องกันได้ หากได้รับการป้องกันหรือการรักษาที่ถูกต้องทันท่วงที

สำหรับประเทศไทยเอง ปัจจุบันมีผู้ป่วย โรคหอบหืดประมาณ 5%-10% ของประชากร หรือประมาณ 3 ล้านคน พบในเด็ก 10% และอัตราการเสียชีวิตจากโรคนี้มากถึง 2,000 คนต่อปี กว่า 70% ของผู้เสียชีวิตเนื่องจากการป้องกันหรือรักษาไม่ทันท่วงที (1)

โรคหอบหืด เป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากภูมิแพ้ โดย 2 ใน 3 ของผู้ป่วยโรคหอบหืดจะมีภาวะภูมิแพ้ร่วมด้วย ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการไอในตอนเช้าและตอนกลางคืน คัดจมูก มีน้ำมูกไหล โดยทั่วไปโรคหอบหืดเกิดจากอาการแพ้ฝุ่นละออง ควันมลพิษ เกสรดอกไม้ หรือแม้แต่การแพ้อาหารทะเล ที่ไปกระตุ้นอาการภูมิแพ้ ซึ่งการแสดงอาการหรือความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับความไวในการตอบสนองสิ่งแปลกปลอม (สารก่อภูมิแพ้) ที่เข้าสู่ร่างกาย

อาการของผู้ป่วยโรคหอบหืด เกิดจากการหดตัวของหลอดลมอย่างรุนแรงทำให้หลอดลมตีบ มีเสมหะที่เหนียวออกมามาก ผู้ป่วยจะหายใจลำบาก โดยเฉพาะเมื่อหายใจออกเกิดอาการเหนื่อยเวลาหายใจ เมื่ออาการหอบเพิ่มขึ้น เวลาหายใจจะมีเสียงดังวี้ดๆ เมื่อเป็นมากขึ้นจะเหนื่อย จนไม่สามารถหายใจเข้าออกได้ จนทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน หากไม่ได้รับการป้องกันหรือรักษาอย่างทันท่วงที

เนื่องจากโรคหอบหืดเป็นโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเป็นไข้หวัด ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบทำให้เจ็บคอง่ายกว่าคนทั่วไป และมีโอกาสติดเชื้อแทรกซ้อนสูง การรักษาอย่างต่อเนื่องร่วมกับการออกกำลังกายเป็นประจำ ทำให้ร่างกายแข็งแรงเกิดภูมิต้านทานโรค (2)

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
(1)Gidanan Ganghair, ตั้งเป้าลดผู้ป่วย “โรคหืด-ปอดอุดกั้นเรื้อรัง”, www.thaihealth.or.th, 2016
(2)นพ.องอาจ โกสินทรจิตต์, “โรคหืดหรือหอบหืด (Asthma)”, ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ, 2014
(3)Food Science & Nutrition, 2014 Nov; 2(6): 655–663. Bruttmann G. “Ovix” Quail egg homogenate: a clinical evaluation, La Medicina Biologica 1995; 2 : 25–29

เราใช้คุกกี้เพื่อประสบการณ์และการให้บริการที่ดีที่สุดในการใช้งานเว็บไซต์แก่ท่าน หากดำเนินการต่อหรือปิดข้อความนี้ลง แสดงว่าท่านได้ยอมรับ นโยบายคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
เราใช้คุกกี้เพื่อประสบการณ์และการให้บริการที่ดีที่สุดในการใช้งานเว็บไซต์แก่ท่าน หากดำเนินการต่อหรือปิดข้อความนี้ลง แสดงว่าท่านได้ยอมรับ