.
.

โรคตับแข็ง ภัยอันตรายปล่อยไว้อาจถึงระยะสุดท้ายของโรคตับ

ตับ อวัยวะชิ้นโต ทำหน้าที่มากมายหลายร้อยอย่างต่อวัน เหมือนเป็นฟันเฟืองตัวสำคัญต่อร่างกาย เมื่อไหร่ที่ตับต้องเผชิญกับ ตับแข็ง แล้วล่ะก็ เท่ากับว่าร่างกายต้องได้รับผลกระทบตามมาอย่างมากมายแน่นอน หากปล่อยให้ โรคตับแข็ง ดำเนินต่อไป จนพัฒนาไปในระยะที่แย่ลง ก็อาจส่งผลให้เกิดภาวะตับวายเฉียบพลัน หรืออาจรุนแรงถึงขั้น ‘มะเร็งตับ’ ตามมาได้อย่างแน่นอน

สาเหตุของโรค ตับแข็ง ภัยร้ายเป็นอันตรายต่อชีวิต

สาเหตุของ ตับแข็ง ภัยร้ายที่เป็นอันตรายต่อชีวิต

ถ้าไม่อยากต้องเผชิญหน้ากับ ตับแข็ง ก็ต้องรู้ต้นตอที่ทำให้เกิดโรคให้ได้ก่อน ว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้เป็นมาอย่างไร เพราะตับแข็งถือว่าเป็นโรคที่ค่อนข้างอันตรายแล้วก็ว่าได้ หากปล่อยไว้ถือเป็นภัยอันตรายได้ถึงชีวิตเลยทีเดียว ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคตับแข็งนั้น ส่วนมากแล้วก็จะพัฒนามาจากไขมันพอกตับ หรือตับอักเสบที่เป็นอยู่ก่อนหน้า เมื่อตับถูกทำร้ายมาอย่างหนัก ก็ต้องพยายามรักษาตัวเองให้ดีขึ้น เลยเกิดเป็นพังผืดที่ก่อตัวสะสมมากขึ้นเรื่อยๆนั่นเอง ซึ่งตัวการหลักที่ทำให้เกิดโรคตับต่างๆนั้น ก็เกิดได้จากดังนี้

  • เป็นไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง ไม่ว่าจะไวรัสตับอักเสบชนิดบี ซี หรือดี ก็ตาม ล้วนเป็นสาเหตุหลัก ที่ทำให้ตับพัฒนาไปเป็นตับแข็งได้
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในปริมาณมาก หรือติดต่อกันนาน จนตับเกิดการอักเสบขึ้นทุกวัน
  • มีภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ เช่น เกิดจากการทานอาหารไขมันสูง ส่งผลให้เกิดตับอักเสบตับมาได้
  • เป็นโรควิลสัน คือ โรคที่ตับไม่สามารถกำจัดแร่ธาตุทองแดงส่วนเกินออกไปได้ ทำให้สะสมเป็นจำนวนมาก จนตับเกิดความเสียหาย
  • ภาวะดีซ่านเรื้อรัง จากท่อน้ำดีอุดตัน น้ำดีก็จะย้อนกลับไปที่ตับ เข้าสู่กระแสเลือด ทำให้เกิดอาการตัวเหลือง ตาเหลืองนั่นเอง
  • การรับประทานยา ต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน โดยไม่ได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ ทำให้ตับเกิดการอักเสบ หรืออาจเป็นตับวายเฉียบพลันได้

จะเห็นได้ว่าสาเหตุของการเกิดโรคตับแข็งนั้น มีทั้งจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต หรือการรับเชื้อไวรัสที่ทำให้ตับเกิดการอักเสบได้ ยิ่งไปกว่านั้น หากโรคตับแข็งไม่ได้รับการรักษา สามารถลุกลามตามมาอันตรายถึงชีวิต อย่าง ‘มะเร็งตับ’ ได้ ดังนั้นหากเราดูแลป้องกันตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วยการรักษาหรือปรับพฤติกรรมต่างที่ทำให้เกิดโรคตับแข็งนั้น ก็จะช่วยลดความเสี่ยงจากโรคได้

ถ้ารู้ทัน ตับแข็ง อาการก็ระวังได้ทันเวลา

อาการตับแข็ง ถ้ารู้ทัน ก็ระวังได้ทันเวลา

แน่นอนว่าไม่มีใครอยากให้โรคร้ายมาเกิดกับตัวเรา ดังนั้นก็ต้องรู้ตัวให้ทัน ไหวตัวให้เร็ว และสังเกตดูว่าตอนนี้เรามีอาการอะไรที่ใกล้เคียงจะเป็นโรคตับต่างๆ อย่าง ไขมันพอกตับ ตับอักเสบ หรือโรคตับแข็งแล้วหรือยัง มาเช็คกันครับ ว่าอาการจากโรคตับแข็งจะมีอะไรบ้าง

  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • เบื่ออาหาร
  • น้ำหนักลด
  • จุกท้อง แน่นท้อง
  • อวัยวะต่างๆ บวม เช่น แขน ขา ท้อง
  • คันตามผิวหนัง
  • ตัวเหลือง ตาเหลือง
  • คลื่นไส้
  • มีอาการทางสมอง ความจำไม่เหมือนเดิม เซื่องซึม
  • เลือดออกง่าย

หากคุณเริ่มมีหนึ่งในอาการข้างต้น อย่ามัวชั่งใจต้องรีบหันมาใส่ใจสุขภาพตับกันแล้วครับ เพราะนี่เป็นสัญญาณที่ตับกำลังบอกว่า คุณกำลังเผชิญกับโรคตับทั้งหลายอยู่ ไม่ว่าจะเป็นตับอักเสบ หรือตับแข็งก็ตาม รู้เร็วก็รักษาได้ทันตั้งแต่เนิ่นๆ นั่นเองครับ

ระยะของโรคตับแข็ง ระยะอันตรายแต่รักษาได้

ระยะของโรคตับแข็ง ระยะอันตรายแต่รักษาได้

ตับแข็งขั้นไหน ถึงจะอันตราย…ก่อนอื่นก็ต้องบอกก่อนเลยว่าความรุนแรงของตับแข็งนั้น สามารถแบ่งออกไปได้เป็น 3 ระยะด้วยกัน ซึ่งแต่ละระยะที่ว่านั้น ก็สามารถตรวจได้จากผลเลือด ‘บิลลิรูบิน’ และดูการแข็งตัวของเลือด อาจรวมไปถึงดูอาการเซื่อมซึม และความสับสนของตัวผู้ป่วยด้วยนั่นเอง

  • ตับแข็งระยะที่ 1 เป็นระยะขั้นต้นที่อาการยังไม่รุนแรงมาก บางรายอาจมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เหนื่อยง่าย
  • ตับแข็งระยะที่ 2 อาจเริ่มมีอาการคันตามผิวหนัง ตัวเหลือง ตาเหลือง เริ่มมีภาวะท้องมาน
  • ตับแข็งระยะที่ 3 เริ่มมีอาการเซื่องซึม สับสน ความคิดช้าลง เลือดออกง่าย ภาวะท้องมานเริ่มหนักขึ้น

ในช่วงระยะแรกๆของการเป็นโรคตับแข็งนั้น ยังพอมีเวลาที่จะรักษาเพื่อไม่ให้โรครุนแรงขึ้นได้เหมือนกันครับ หมออาจจะให้ยาเพื่อรักษาตามอาการ แต่หากโรคมีความรุนแรงแล้ว ก็อาจจะต้องรักษาถึงขั้นผ่าตัดเปลี่ยนตับเลยทีเดียว ถ้าไม่อยากให้เกิดความรุนแรงถึงขั้นนั้นกับชีวิตคุณล่ะก็ คงต้องมาหาทางดูแลและรักษาตับของเราตั้งแต่เนิ่นๆแล้วล่ะครับ

เมื่อรู้แล้วว่าใช่ตับแข็ง จะรักษายังไงไม่ให้ลุกลาม

เมื่อรู้แล้วว่าใช่ตับแข็ง จะรักษายังไงไม่ให้ลุกลาม

แม้ว่าตับแข็งจะเป็นโรคที่ไม่สามารถกลับมาหายจนตับกลับมาปกติได้ แต่ถ้าหากเรารู้ตัวเร็ว ก็ยังพอมีเวลาเยียวยาได้ทัน เพราะยังมีวิธีรักษาให้ปัญหาตับแข็งที่เป็นอยู่ ไม่ลุกลามไปมากกว่าเดิม ด้วยวิธีการง่ายๆดังนี้

  • ลดดื่มแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์ทำให้ตับเกิดการอักเสบมากขึ้น อาการตับแข็งที่มีอาจรุนแรงขึ้นเป็นเท่าตัวได้
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ และกินโปรตีนที่ย่อยง่าย อย่างเช่น ปลา หรือโปรตีนจากพืชอย่าง ถั่ว
  • ระวังอย่าให้ท้องผูก เพราะเมื่อท้องผูกจะเกิดการสะสมสารพิษในร่างกาย ตับก็ต้องทำงานหนักขึ้นในการขับสารพิษนั้นออกไป อาจทำให้อาการที่เป็นอยู่หนักขึ้นได้
  • งดการซื้อยารับประทานเอง เพราะหากใช้ยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์ อาจยิ่งเป็นอันตรายต่อตับได้
  • หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม เพราะจะทำให้บวมน้ำ และมีน้ำในช่องท้องมากขึ้น หรือที่รู้จักในชื่อว่า ท้องมาน
  • ตรวจติดตามกับแพทย์สม่ำเสมอ และรีบมาพบแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติ เช่น ตาเหลืองมากขึ้น ซึม สับสน อาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายอุจจาระเหลว มีไข้เหนื่อย
  • การออกกำลังกายสำหรับผู้ที่เป็นโรคตับเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่ควรออกกำลังประเภท การเดินเร็ว หรือปั่นจักรยาน ในขณะที่ผู้ที่มีภาวะตับแข็งรุนแรง ก็ควรที่จะหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่หนัก ไม่ว่าจะเป็นการเบ่งหรือเกร็งช่องท้อง อย่างการยกน้ำหนัก เป็นต้น เพราะจะเป็นการกระตุ้นให้ตับต้องทำงานหนักมากขึ้น และยังเสี่ยงที่แรงดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เส้นเลือดขอดแตกได้นั่งเองครับ
  • หลีกเลี่ยงอาหารสุกๆดิบๆ เพราะอาจมีเชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดอาการติดเชื้อรุนแรงได้

หากไม่อยากให้อาการตับแข็งที่เป็นอยู่ ต้องทรุดลุกลามไปเป็นมะเร็งไวกว่าที่คิด ก็ต้องจริงจังกับการดูแล และรักษาตัวเองมากขึ้น ขึ้นอยู่กับคุณแล้วล่ะครับ ว่าจะทำเพื่อสุขภาพตับได้อย่างสม่ำเสมอมากแค่ไหน

เปลี่ยนข้างหลังเป็นคนจริงได้ม้ายยยย

สู้ชีวิตยังไง ไม่ให้เข้าใกล้โรคตับแข็ง

สู้ชีวิตยังไง ไม่ให้เข้าใกล้โรคตับแข็ง

แม้ตับแข็งจะฟังดูเป็นโรคที่ค่อนข้างจะห่างไกลกับตัวคุณ แต่ก็บอกได้เลยว่า หนทางที่ทำให้ดำเนินมาเจอกับโรคตับแข็งนั้น มันไม่ยากไปกว่าที่คิดเลยจริงๆ เพราะหากคุณเคยเจอกับปัญหาไขมันพอกตับ หรือตับอักเสบมาก่อนนั้น ก็ยิ่งเป็นใบเบิกทางทำให้เจอกับตับแข็งได้ง่ายขึ้นเป็นเท่าตัวเลย งั้นมาดูกันดีกว่าครับ ว่าจะสู้ชีวิตก็ยังไง ให้สุขภาพเราห่างไกลจากโรคตับ และโรคตับแข็งได้บ้าง

  • หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ เรื่องความร้ายกาจของแอลกอฮอล์ ก็ยังคงเป็นปัจจัยหลักที่จะเกิดโรคตับ ถ้าเลี่ยงแอลกอฮอล์ได้ ก็บอกลาโรคตับได้ระดับนึงเช่นกัน
  • มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย หากมีเพศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้าแบบไม่ป้องกัน อาจเสี่ยงติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หรือตับอักเสบซี ได้
  • ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ ไม่ว่าจะตับอักเสบชนิดไหน หากฉีดไว้ก็จะเป็นการป้องกันตัวเองจากตับแข็ง และมะเร็งตับได้อย่างมากเลยก็ว่าได้
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ การออกกำลังกายเป็นอีกวิธีหนึ่ง ที่ทำให้ลดการเกิดไขมันพอกตับได้ แต่ต้องถูกวิธีและไม่รุนแรงเกินไปนะครับ
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม เพราะหากน้ำหนักมากเกินไป ก็ยิ่งเป็นการเสี่ยงที่จะเกิดไขมันพอกตับ หรือตับอักเสบนั่นเอง
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ และลดของมัน ของทอด ลงด้วย

วิธีสู้กับโรคตับไม่ได้ยากอย่างที่คิดเลยใช่ไหมล่ะครับ หากคุณทำได้ทุกข้อที่บอกมานี้ รับรองได้เลยว่า ไม่ว่าจะโรคตับชนิดไหน ไขมันพอกตับ ตับอักเสบ ค่าตับสูง หรือแม้กระทั่งตับแข็ง ก็ห่างไกลจากชีวิตคุณไปอย่างแน่นอน

*บำรุงตับตั้งแต่วันนี้ด้วย ‘เฮฟฟีก้า’

สรุปโรคตับแข็ง

ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้ ก็คงไม่มีใครอยากให้สุขภาพร่างกายของเรา ต้องไปเข้าใกล้กับโรคร้ายอย่าง ‘ตับแข็ง’ อย่างแน่นอน เพราะหากละเลยไม่ใส่ใจ ก็คงต้องไปจบที่มะเร็งตับอย่างเลี่ยงไม่ได้ เห็นไหมครับ โรคที่ดูไกลตัวอย่างโรคตับแข็ง หรือมะเร็งตับ กลับเป็นเรื่องที่อยู่ประชิดตัวเรามากกว่าที่คิดไว้ซะอีก เพราะความเคยชิน และการละเลยสุขภาพของเราเอง ไม่อยากลาโลกเพราะโรคตับ ก็ต้องเริ่มหันมาใส่ใจสุขภาพตับกันหน่อยแล้วล่ะครับ เพราะเมื่อไหร่ที่ตับเราดี อวัยวะที่เปรียบเสมือนศูนย์กลางนี้ก็จะช่วยส่งเสริมให้อวัยวะอื่นๆในร่างกายดีตามไปด้วยนั่นเอง

เริ่มใส่ใจเรื่องตับตั้งแต่วันนี้ ด้วยนวัตกรรมอาหารเสริมบำรุงตับจากเบลเยียมอย่าง เฮฟฟีก้า ที่มีวิจัยทางการแพทย์ยืนยันแล้วว่า ช่วยฟื้นฟู และบำรุงตับได้จริง ด้วยสารสกัดธรรมชาติจาก พรูนัสมูเม่ ที่สามารถเข้าไปบำรุงตับได้ถึงระดับเซลล์ เพียงวันละ 1 เม็ด ก็ช่วยได้ทั้งลดค่าตับ ลดการอักเสบของตับ ลดไขมันพอกตับ รวมไปถึงลดความเสี่ยงในการเกิดโรคตับแข็ง และมะเร็งตับ เริ่มใส่ใจสุขภาพตับวันนี้ เพราะชีวิตดี เริ่มต้นได้ที่ตับ

เราใช้คุกกี้เพื่อประสบการณ์และการให้บริการที่ดีที่สุดในการใช้งานเว็บไซต์แก่ท่าน หากดำเนินการต่อหรือปิดข้อความนี้ลง แสดงว่าท่านได้ยอมรับ นโยบายคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
เราใช้คุกกี้เพื่อประสบการณ์และการให้บริการที่ดีที่สุดในการใช้งานเว็บไซต์แก่ท่าน หากดำเนินการต่อหรือปิดข้อความนี้ลง แสดงว่าท่านได้ยอมรับ